การวิเคราะห์วิกฤติและการจัดการความเสี่ยง

รหัสวิชา/ชุดวิชา (Course Code)   : HS 413602
ภาษาไทย (Thai name) :  การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาษาอังกฤษ  (English name) : Natural Resource and Environment Management
จำนวนหน่วยกิต (Number(s) of Credits) : 3 (3-0-6)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Faculty of Humanities and Social Sciences)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ วิชาเอก รัฐประศาสนศาสตร์

ผลิตเนื้อหา
เรื่อง “การวิเคราะห์วิกฤติและการจัดการความเสี่ยง”
ดร.หิรัญ แสวงแก้ว นักวิจัยชำนาญการ hirsaw@kku.ac.th
สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม และ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึงนิยามและความหมายของ วิกฤติและการจัดการความเสี่ยง
2.เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกวิเคราะห์จากกรณีศึกษา

เนื้อหา
1. แนวคิด นิยาม ความหมาย วิกฤติ ความเสี่ยง Click.. (15 นาที) .pptx

1.1 ให้นักศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ ไมโครพลาสติกในน้ําจืด ว่ามีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
1.2 จากสถานการณ์ ดังกล่าวท่านจะมีแนวทางจัดการอย่างไร click..

2. หลักการประเมินความเสี่ยง
2.1 หลักการวิเคราะห์ ความเสี่ยง Click.. (15 นาที) .pptx
2.2 ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง Click.. (15 นาที) .pptx

กรณีศึกษา ชี้แจงการวิเคราะห์กรณีศึกษา Click.. (5 นาที)
กรณีศึกษา 1 หน่วยงานด้านการปกครองหนึ่งของจังหวัด A ประเทศ B มอบหมายให้ท่านวิเคราะห์ความเสี่ยง และเตรียมวางแผนเผชิญเหตุภัยพิบัติจาก “พายุโซนร้อนส้มปลาน้อย” ที่อีก 1 สัปดาห์จะพัดเข้ามาในจังหวัดของท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้รับผิดชอบจะต้องมีการวิเคราะห์ประเด็นใดบ้าง
กําหนดให้เลือกวิธีการวิเคราะห์อย่างน้อย 1 รูปแบบ
1.1 การวิเคราะห์ตารางเมทริกซ์
1.2 การวิเคราะห์ เปอร์เซ็นต์โอกาสที่จะเกิดขึ้น

กรณีศึกษา 2 “ภัยแล้ง” Click.. คืออีกหนึ่งปัญหาหลักของประเทศไทยที่มีความรุนแรงขึ้นในทุกๆ ปี ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกษตรกรไปจนถึงคนเมือง โดยในปี 2564 ประเทศไทยหลายพื้นที่ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งเช่นเดิม ในฐานะที่ท่านเป็นผู้รับผิดชอบในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งท่านจะมีการวิเคราะห์ประเด็นใดบ้างเพื่อจะลดหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าว
กําหนดให้เลือกวิธีการวิเคราะห์อย่างน้อย 1 รูปแบบ
2.1 การวิเคราะห์ตารางเมทริกซ์
2.2 การวิเคราะห์ เปอร์เซ็นต์โอกาสที่จะเกิดขึ้น