สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมงานฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตจีน-ไทย

*นายประทีป ช่วยเกิด นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2568 นายประทีป ช่วยเกิด นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเชิญเข้าร่วมงานฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทย ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพมหานคร ภายใต้ชื่อ “หนึ่งสายน้ำเชื่อมสายใย หนึ่งครอบครัวร่วมสายใจ (One River, One Family)” จัดโดย ศูนย์การสื่อสารภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สำนักสารนิเทศต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ศูนย์การสื่อสารระหว่างประเทศเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งมณฑลยูนนานสาธารณรัฐประชาชนจีน คลังสมองเอเชียแปซิฟิก (APTT) สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และกรมประชาสัมพันธ์มณฑลยูนนาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทยและครบรอบ 11 ปีของกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้าโขง และงานประกาศผล 10 อันดับข่าวเด่นด้านความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง ประจำปี 2567 เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เสริมสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ส่งเสริมสนับสนุนให้สื่อมวลชนจีน-ไทย และคลังสองจีน-ไทย ทำงานร่วมกันอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน โดยมีเป้าหมายของผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนที่มีการพัฒนาที่ดีขึ้นของทุกภาคส่วน รวมถึงการสร้างความทันสมัยในการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทย

ในการนี้นักวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมการสัมมนาสื่อมวลชนและคลังสมอง “มิตรภาพสีทองไทย-จีน สร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน” ได้รับเกียรติจากผู้ร่วมจัดงานให้เป็นผู้ดำเนินรายการการเสวนากลุ่ม เรื่อง “ร่วมมือสู่ความทันสมัยร่วมกันและสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีน-ไทย” เนื้อหาสาระของการเสวนามีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ ความร่วมมือระหว่างสื่อจีนและไทย มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างประชาคมจีน – ไทย ที่มีอนาคตที่มีอนาคตร่วมกัน โดยสื่อของทั้งสองประเทศควรมีความร่วมมือที่เชื่อมโยงกัน ทำงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม ใช้กลไกของสื่อในการแลกเปลี่ยนบุคลากรและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ สำหรับความร่วมมือในภาคธุรกิจต่าง ๆ ระหว่างจีนและไทย อาทิเช่น รถยนต์ไฟฟ้า บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าของจีนมีการพัฒนารถยนต์ไฟฟฟ้าหลายรุ่น โดยประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อใช้ในประเทศและส่งออก มีห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจร ความร่วมมือพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของไทยและจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในประเด็นการพัฒนาการขนส่งระบบราง ค่าขนส่งสินค้าด้วยรถไฟจากจีนมายัง สปป.ลาว ไทย และมาเลเซีย ลดลงกว่า 20% เมื่อเทียบกับการขนส่งสินค้าทางเรือ การพัฒนาเส้นทางรถไฟจีน-ไทย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันของพี่น้องประชาชนจีนและไทย ประเด็นสุดท้าย การพัฒนาความทันสมัยของจีนมุ่งเน้นการแสวงหาการสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ประเทศจีนมีความประสงค์ที่จะแบ่งปันบทเรียนและประสบการณ์การพัฒนาที่ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศอื่น ๆ พัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไทยใช้เวลาหลายชั่วอายุคนจนมีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไทยจึงเป็นแบบอย่างที่ดีเยี่ยมของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ มุ่งแสวงหาประโยชน์ และสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนและไทย