*นายประทีป ช่วยเกิด นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชุดโครงการวิจัย (Research Program) “การพัฒนาส่งเสริมธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนตามเส้นทางรถไฟจีน-ลาว กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย” ณ โรงแรมอัศวรรณ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยผู้เข้าร่วมการประชุมมาจาก 3 ภาคส่วน (ไตรภาคี) ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนหน่วยงานภาคเอกชน และผู้แทนหน่วยงานภาควิชาการ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย โดยการประชุมมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 35 ท่าน การจัดประชุมครั้งนี้ใช้รูปแบบการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop seminar, WSS) และการใช้แผ่นการ์ด (Card) เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการวิจัยและบริบทพื้นที่ใน 2 ประเด็น ประกอบด้วย 1) นโยบายภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย และ 2) บริบทด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดหนองคาย โดยทั้ง 2 ประเด็นแบ่งออกเป็นประเด็นย่อย 3 ประเด็นย่อย ประกอบด้วย 1) แหล่งท่องเที่ยว 2) ธุรกิจบริการทางการท่องเที่ยว และ 3) บุคลากรด้านการท่องเที่ยว ผลจากการประชุมระดมสมองรับฟังความคิดเห็นจาก “ไตรภาคี” ที่ส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย ได้ประเด็นความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อชุดโครงการวิจัย (Research Program) ดังนี้ 1.1) นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (แหล่งท่องเที่ยว) จำนวน 46 ข้อมูล 1.2) นโยบายภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (แหล่งท่องเที่ยว) จำนวน 20 ข้อมูล 1.3) บริบทหน่วยงานภาครัฐกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (แหล่งท่องเที่ยว) จำนวน 32 ข้อมูล 1.4) บริบทหน่วยงานภาคเอกชนกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (แหล่งท่องเที่ยว) จำนวน 7 ข้อมูล 2.1) นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (ธุรกิจบริการทางการท่องเที่ยว) จำนวน 37 ข้อมูล 2.2) นโยบายภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (ธุรกิจบริการทางการท่องเที่ยว) จำนวน 10 ข้อมูล 2.3) บริบทหน่วยงานภาครัฐกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (ธุรกิจบริการทางการท่องเที่ยว) จำนวน 21 ข้อมูล 2.4) บริบทหน่วยงานภาคเอกชนกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (ธุรกิจบริการทางการท่องเที่ยว) จำนวน 7 ข้อมูล 3.1) นโยบายภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (บุคลากรด้านการท่องเที่ยว) จำนวน 39 ข้อมูล 3.2) นโยบายภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (บุคลากรด้านการท่องเที่ยว) จำนวน 6 ข้อมูล 3.3) บริบทหน่วยงานภาครัฐกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (บุคลากรด้านการท่องเที่ยว) จำนวน 31 ข้อมูล 3.4) บริบทหน่วยงานภาคเอกชนกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย (บุคลากรด้านการท่องเที่ยว) จำนวน 9 ข้อมูล รวมจำนวนข้อมูลความคิดเห็นประเด็นนโยบายภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย ทั้งสิ้น 158 ข้อมูล และรวมจำนวนข้อมูลความคิดเห็นประเด็นบริบทหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย ทั้งสิ้น 107 ข้อมูล โดยข้อมูลดังกล่าวคณะนักวิจัยชุดโครงการวิจัย (Research Program) “การพัฒนาส่งเสริมธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนตามเส้นทางรถไฟจีน-ลาว กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย” จะได้นำไปวิเคราะห์เพื่อดำเนินโครงการวิจัยต่อไป กิจกรรมการประชุมรับฟังความคิดเห็นชุดโครงการวิจัย (Research Program) “การพัฒนาส่งเสริมธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนตามเส้นทางรถไฟจีน-ลาว กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการจาก “ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา” มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Supported by Research and Graduate Studies Khon Kaen University)