กระบวนการพัฒนาและแสวงหาความรู้ใหม่ ผ่านกระบวนการปฏิบัติร่วมกันของชุมชนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การพัฒนา เป็นงานของคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น
พืชลอยน้ำ การใช้ประโยชน์จากวัสดุท้องถิ่นของพ่อเปี๊ยก
วันที่ 17 ธันวาคม 2567 โครงการศึกษาและจัดการวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพในเขตอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดย ดร.พัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์ และนายจิตติ กิจพงษ์ประพันธ์ ลงพื้นที่บ้านหนองร้านหญ้า ตำบลหัวหนอง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น (พื้นที่ข้างบ้านหลังวัดคาเฟ่) เพื่อติดตามสนับสนุนกิจกรรมการปลูกพืชลอยน้ำที่เน้นการใช้วัสดุท้องถิ่นเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ และเน้นให้เกษตรกรเป็นผู้ปรับประยุกต์ใช้กิจกรรมการปลูกพืชลอยน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ซึ่งพบว่า นายคงเดช เข็มนาค (พ่อเปี๊ยก) เกษตรกรแกนนำที่เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทน (โซลาร์เซลล์...
การใช้ประโยชน์จากวัชพืชในแก่งละว้า ...
วันที่ 10 สิงหาคม 2567 เป็นวันเริ่มต้นปลูกพืชลอยน้ำชุดแรก ของกลุ่มปลูกผักบ้านชีกกค้อ หมู่ที่ 7 และ หมู่ที่ 13 ต.เมืองเพีย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น โดยมีแกนนำชาย 3 หนุ่ม จากกลุ่มปลูกผักบ้านชีกกค้อ พี่ทวีศักดิ์ พ่อบุญเหลือ และพ่อพุธ ร่วมกันจัดตั้งแพปลูกผักลงน้ำ ส่วนสมาชิกสตรีร่วมช่วยกันเตรียมกล้าไม้และดินปลูกบรรจุลงตะกร้า และมี...
การใช้ประโยชน์จากวัชพืชในแก่งละว้า ตอนที่ 1 การเผาถ่านและปลูกผักลอยน้ำ
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักวิชาการเกษตรจาก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 (สวพ.3) ลงปฏิบัติการร่วมกับชุมชนในการสาธิตเผาถ่าน และการจัดเตรียมโครงสร้างการปลูกพืชผักลอยน้ำ มีแกนนำและสมาชิกจากชุมชนที่อยู่ริมแก่งละว้าในหมู่ที่ 7 และ 13 บ้านชีกกค้อ ต.เมืองเพีย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น จำนวน 20 คนเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมเพื่อนำวัชพืชที่เป็นปัญหาในแก่งละว้ามาใช้ประโยชน์...