การปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ : การสร้างเกษตรมูลค่าสูง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น

*นายประทีป ช่วยเกิด นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาคเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย ประชากรไทยกว่า 25 ล้านคน อยู่ในภาคเกษตร ในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารอันดับที่ 12 ของโลก อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรของไทย ขาดการพัฒนามาเป็นเวลานาน เกษตรกรส่วนใหญ่ยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมที่มีผลิตภาพ และประสิทธิภาพ (Productivity and Efficiency) อยู่ในระดับต่ำ เกษตรกรจึงมีรายได้น้อยและมีปัญหาหนี้สิน ทำให้ขาดความมั่นคงในชีวิต และเป็นภาระที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องทุกปี

ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตร ไปสู่สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง สามารถสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนพัฒนาในด้านต่าง ๆ

ในส่วนบทบาทของสถาบันการศึกษาในการส่งเสริมการสร้างเกษตรมูลค่าสูง ตัวอย่างอาทิเช่น มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ส่งเสริมการสร้างเกษตรมูลค่าสูงในแฟลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมอาหาร และเศรษฐกิจชีวภาพตามแนวทาง BCG ที่ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ตัวอย่างการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมอาหาร และเศรษฐกิจชีวภาพตามแนวทาง BCG ของทีมวิจัยศูนย์เครือข่ายวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์และโอมิกส์ทางสัตว์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ ไข่ขาวอัดเม็ดจากไข่ไก่พื้นเมือง จะมีกรดอมิโนสำคัญสองกลุ่ม กลุ่มแรก BCAA ช่วยเรื่องสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อสำหรับผู้สูงวัย และนักกีฬา ส่วนกลุ่มสองช่วยสร้างอัลบูมินให้กับร่างกายและมี Proline และ Glycine ที่สูงช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างคอลลาเจนให้กับร่างกาย และไข่ขาวจากไก่อัดเม็ด จะมีกรดอมิโนสำคัญสองกลุ่ม กลุ่มแรก BCAA ช่วยเรื่องสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อสำหรับผู้สูงวัยและนักกีฬา ส่วนกลุ่มสองช่วยสร้างอัลบูมินให้กับร่างกายสำหรับกลุ่มผู้รักสุขภาพ และกลุ่มผู้ต้องการโปรตีนจากไข่ขาว รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อาทิเช่น มะเขือเทศเชอรี่อบแห้ง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ  

ทั้งนี้ แฟลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมอาหาร และเศรษฐกิจชีวภาพตามแนวทาง BCG ของมหาวิทาลัยขอนแก่น เป็นการดำเนินการในรูปแบบห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) โดยเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นผู้ผลิตหรือเลี้ยงไก่พื้นเมือง (ต้นน้ำ) ภายใต้การสนับสนุนช่วยเหลือและให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะดำเนินการในส่วนของการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด และนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ (กลางน้ำ) รวมถึงการดำเนินการด้านการตลาด (ปลายน้ำ) การปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจด้วยการสร้างเกษตรมูลค่าสูง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วยเพิ่มผลิตภาพ และประสิทธิภาพ (Productivity and Efficiency) ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยลดปัญหาหนี้สินครัวเรือน ครอบครัวไม่ต้องแยกย้ายกันเพื่อไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย รวมถึงในต่างประเทศ ช่วยลดการเกิดปัญหาทางสังคมได้อีกทางหนึ่งด้วย